ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2566 เป็นหลักสูตรที่ได้ปรับปรุงมาจากหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน พุทธศักราช 2561 สภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้การรับรองมาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิต และมาตรฐานบัณฑิตระดับปริญญาโททางการศึกษา (วิชาชีพครู) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยเน้นให้เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทักษะ และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสามารถในการทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยการเชื่อมโยงศาสตร์ที่เป็นสากลกับภูมิปัญญาไทย และใช้กระบวนการคิดขั้นสูงในการออกแบบการพัฒนาและแก้ปัญหาบนพื้นฐานของความต้องการและสภาพบริบทของหน่วยงาน ตลอดจนหลักสูตรนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาภายใต้ปรัชญาของหลักสูตร “มุ่งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงทางด้านหลักสูตรและการสอน โดยกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางาน สังคม และชุมชนพื้นที่ มีคุณธรรมทางวิชาการและวิชาชีพ นำไปสู่การพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ”
ปัจจุบันหลักสูตรฯ มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 3 คน และอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 โดยหลักสูตรฯ ได้กำหนดจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thai Qualifications Framework for Higher Education : TQF) ครอบคลุมผลการเรียน จำนวน 4 ด้าน คือ 1) ด้านจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะ และ 4) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล
วิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้สู่สากล
พันธกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
1. วิจัยและสร้างนวัตกรรม บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เข้มแข็งบนฐานของการมีส่วนร่วม
2. ผลิต พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับมาตรฐานของวิชาชีพครู
3. จัดการศึกษาที่หลากหลาย ผลิตบัณฑิต บัณฑิตศึกษา และพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นให้มีคุณภาพคุณธรรม จริยธรรมและสามารถแข่งขันได้
4. ส่งเสริม เผยแพร่ อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างสรรค์ ศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการและภาพลักษณ์องค์กร
6. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อเข้าสู่สากล
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา คือ “เป็นคนดี มีทักษะชีวิต มีจิตสาธารณะ” และผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศ
ปรัชญาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา : สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์คณะครุศาสตร์
เป็นสถาบันชั้นนำระดับประเทศ ที่มีความเป็นเลิศในการผลิต พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
พันธกิจคณะครุศาสตร์
ด้วยความร่วมมือของเครือข่ายทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์จึงได้กำหนดพันธกิจ 4 ข้อดังนี้
1. ผลิตและพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. บริการวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น
3. ส่งเสริมและพัฒนาการวิจัยทางการศึกษา
4. การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
อัตลักษณ์คณะครุศาสตร์
อัตลักษณ์ของบัณฑิตครุศาสตร์ คือ เป็นคนดี มีทักษะชีวิต มีจิตสาธารณะ
คุณลักษณะของบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตของคณะครุศาสตร์ว่า “รอบรู้ จัดการเรียนรู้ดี มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ มุ่งพัฒนา” โดยมีตัวบ่งชี้ ดังนี้
รอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในศาสตร์สาขาที่สอน ในศาสตร์รอบด้านที่เกี่ยวกับวิชาชีพครู เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับวิชาชีพครู และในด้านการวิจัยเบื้องต้น/ในชั้นเรียน
จัดการเรียนรู้ดี หมายถึง มีความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร มีความสามารถในการวัดและประเมินผลด้านการจัดการชั้นเรียน ด้านทักษะ ด้านการถ่ายทอดความรู้ และด้านการออกแบบการสอน
มีคุณธรรมและจรรยาบรรณ หมายถึง มีความสุภาพ อ่อนน้อม รับผิดชอบต่อตนเอง ใฝ่รู้ รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม มีความอดทน มีจรรยาบรรณวิชาชีพครู
มุ่งมั่นพัฒนา หมายถึง มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงาน มีความเมตตาและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น มีความสามารถทำงานเป็นทีม มีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อผู้เรียน/ต่อหน้าที่
ปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ค.ม. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงทางด้านหลักสูตรและการสอน โดยกระบวนการวิจัยเพื่อสร้างและประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่เพื่อการพัฒนางาน สังคมและชุมชนพื้นที่ มีคุณธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ นำไปสู่การพัฒนาความก้าวหน้าของสังคมและประเทศชาติ
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา โดยเน้นให้เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทักษะ และจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความสามารถในการทำการวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาของท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยการเชื่อมโยงศาสตร์ที่เป็นสากลกับภูมิปัญญาไทย และใช้กระบวนการคิดขั้นสูงในการออกแบบการพัฒนาและแก้ปัญหาบนพื้นฐานของความความต้องการและสภาพบริบทของหน่วยงาน ตลอดจนหลักสูตรนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่สังคมพหุวัฒนธรรมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษา อีกทั้ง หลักสูตรยังรองรับการพัฒนาครูประจำการที่ต้อง Upskill และ Reskill โดยการจัดทำหลักสูตรเป็นแบบชุดวิชา (Modular system) สำหรับครูประจำการหรือนักศึกษาที่เรียนไม่เต็มเวลาได้เลือกเรียนในชุดวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการ การเรียนในชุดวิชาต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้าแล้วดังกล่าว สามารถนำมาเทียบโอนหน่วยกิตได้ในอนาคตเมื่อครูประจำการหรือนักศึกษาเหล่านั้นตัดสินใจมาเข้าเรียนในหลักสูตร ซึ่งจะส่งผลให้ลดระยะเวลาในการเรียนให้สั้นลงและสำเร็จการศึกษาเร็วขึ้น นอกจากนี้ หลักสูตรยังตอบสนองต่อการพัฒนาตนเองของกลุ่มครูที่ต้องการยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (Upgrade license) และสนองตอบต่อนโยบายการพัฒนาครูที่ตรงกับการสอนในวิชาเอกอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความต้องการของสังคม
2. สามารถสร้างนวัตกรรมทางด้านหลักสูตรและการสอนภายใต้กระบวนการวิจัยและนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน และการแก้ปัญหาในการปฏิบัติทางวิชาชีพ
3. มีทักษะในการออกแบบและจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น ชุมชน และสังคม
4. มีทักษะการคิดขั้นสูงและใช้ทักษะการคิดเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหลักสูตรและการสอนที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาการศึกษาไทยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21
5. มีความสามารถในการทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน ชุมชน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
6. มีคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ข้อมูลทั่วไปหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2566
1. รหัสวิชาและชื่อหลักสูตร
รหัสวิชาหลักสูตร : 25491641111166
ภาษาไทย : หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ภาษาอังกฤษ : Master of Education Program in Curriculum and Instruction
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ค.ม. (หลักสูตรและการสอน)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Master of Education (Curriculum and Instruction)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : M.Ed. (Curriculum and Instruction)
3. วิชาเอก
- ไม่มี
4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แผน 1 แบบวิชาการ (ทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว) จำนวน 36 หน่วยกิต
แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) สำหรับผู้ไม่ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จำนวน 39 หน่วยกิต
แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์) สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จำนวน 55 หน่วยกิต
5. รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาโท ประเภทของหลักสูตรปริญญาโททางวิชาชีพ ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รับเข้าศึกษาไทย และนักศึกษาต่างชาติ ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
☑ ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566
☑ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาให้การรับรองหลักสูตร ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 รหัสรับรอง 4186
7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
7.1 ครูและบุคลากรทางการศึกษา
7.2 นักวิชาการศึกษาในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
7.3 นักพัฒนาหลักสูตรและวิทยากรฝึกอบรม
7.4 อาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษาด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน
7.5 นักวิจัยทางการศึกษาและผู้ประเมินคุณภาพการศึกษา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) ของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน พ.ศ.2566 จำนวน 6 ข้อดังนี้
PLO1 ออกแบบและสร้างนวัตกรรมทางด้านหลักสูตรและการสอนได้เหมาะสมกับบริบททางการศึกษาบนฐานของหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางหลักสูตรและการสอน
PLO2 ปฏิบัติการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาหลักสูตรและการสอน และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบบทความวิชาการ บทความวิจัย และรูปแบบต่าง ๆ ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับ
PLO3 คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์ และคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่สอดคล้องกับหลักวิชาการทางด้านหลักสูตรและการสอน และบริบทของหน่วยงานและชุมชน
PLO4 ใช้เทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมในการพัฒนาหลักสูตรและการสอน ในการนำเสนองาน และในการสื่อสารกับนักศึกษา ผู้ร่วมงาน และผู้ปกครองในเชิงสร้างสรรค์
PLO5 จัดการเรียนรู้ จัดการชั้นเรียน และวัดประเมินผลการเรียนรู้ได้เหมาะสมเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานขององค์กรวิชาชีพ
PLO6 ประพฤติตนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีแนวคิดที่ถูกต้อง มีจรรยาบรรณวิชาชีพครูและจรรยาบรรณเชิงวิชาการ
โครงสร้างหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2566
แผนการเรียน/ หมวดวิชา |
แบบไม่ขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครู |
แบบขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครู |
|
แผน 1 แบบวิชาการ |
แผน 1 แบบวิชาการ |
แผน 1 แบบวิชาการ (ศึกษารายวิชาและทำ วิทยานิพนธ์) |
|
1. หมวดวิชาเฉพาะ |
- |
27 |
43 |
1.1 กลุ่มวิชาแกน |
- |
15 |
15 |
1.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน |
- 3* - - |
12 - 9 3 |
20 8 9 3 |
1.3 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ |
- |
- |
8 |
2. วิทยานิพนธ์ |
36 |
12 |
12 |
3. รายวิชาเสริม |
2** |
2** |
2** |
รวม |
36 |
39 |
55 |
หมายเหตุ * และ ** เป็นรายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต